Publications: 0 | Followers: 1

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับกลยุทธ์ธุรกิจ

Publish on Category: Birds 268

การขัดกันแห่งเขตอำนาจศาลหมายถึง กรณีที่ศาลของหลายป.ท.มีส่วนเกี่ยวพันหรือมีอำนาจในการวินิจฉัยตัดสินคดีหลายศาลมีอำนาจพิจารณาคดีเดียวกัน จำเป็นต้องเลือกศาลใดศาลหนึ่งพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อนของเขตอำนาจศาลเลือกสถาบัน=ศาลมิใช่ เลือกใช้ตัวบทก.ม.
หลักสากลเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลหลักกฎหมายระหว่างป.ท.ศาลมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มูลกรณีเกิดขึ้นในดินแดนของตน (Territorial Jurisdiction) หรือ รัฐมีอำนาจเหนือตัวบุคคล (Personal Jurisdiction) บุคคลมีสัญชาติหรือภูมิลำเนาของรัฐนั้น
เขตอำนาจศาล
ภูมิลำเนาของจำเลย
สถานที่ตั้งของทรัพย์
สัญชาติของโจทก์
ป.วิ.พ.มาตรา4คำฟ้องถือเกณฑ์ภูมิลำเนาของจำเลย หรือสถานที่เกิดมูลคดีม.4ตรี ให้ผู้มีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นพำนักในราชอาณาจักร สามารถฟ้องคนที่อยู่นอกป.ทหรือเหตุการณ์ที่เกิดนอกราชอาณาจักร เสนอคำฟ้องต่อศาลแพ่งหรือศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่=สัญชาติและภูมิลำเนาโจทก์ม.4ทวิ คำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาฯ เกณฑ์ที่ตั้งแห่งทรัพย์สิน
การรับรองคำพิพากษาศาลต่างประเทศ (Recognition of ForeignJudgement)หมายถึง การที่ศาลของป.ท.หนึ่งให้การยอมรับ เคารพในคำคัดสินของศาลอีกป.ท.เช่น ยอมรับว่าหญิงต่างด้าวผู้นี้หย่าขาดจากสามีแล้วการบังคับคดี (Enforcement)หมายถึง การดำเนินการให้คำตัดสินนั้นเกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น ดำเนินการขับไล่ ยึดทรัพย์ บังคับให้ชำระหนี้
หลักการในการรับรองคำพิพากษาต่างประเทศ1.1หลักอัธยาศัยไมตรีระหว่างประเทศPrinciple of International Comity1.2หลักปฏิบัติต่างตอบแทนPrinciple of Reciprocity1.3หลักพันธกรณีPrinciple of Obligation1.4หลักแห่งสิทธิที่ได้รับมาPrinciple of Acquired Right
แบบทวิภาคีสหรัฐ แคนดา ประเทศละตินอเมริกาแบบพหุภาคี- ประเทศที่อยู่ภายใต้เครือจักรภพอังกฤษForeignJudgementAct 1933- ประเทศในยุโรปที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปEU Brussels Convention 1968ต่อมาเปลี่ยนมาใช้มติคณะมนตรีสหภาพยุโรปCouncil Regulation of EU-Hague Convention 1971
สรุปเงื่อนไขได้4ประการ ดังนี้2.1คำพิพากษาต้องมาจากศาลที่มีอำนาจตัดสินคดี2.2ต้องเป็นคำพิพากษาคดีแพ่งและพาณิชย์2.3คำพิพากษาศาลต่างป.ท.ต้องเป็นคำพิพากษาที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์และถึงที่สุด2.4ต้องเป็นคำพิพากษาที่ไม่ขัดต่อนโยบายสาธารณะ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม จารีตประเพณีของป.ทที่ได้รับการร้องขอ
ประเทศไทยไม่มีก.ม.ภายในบัญญัติไว้โดยตรงเกี่ยวกับการรับรองหรือบังคับคดีคำพิพากษาต่างประเทศ และไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาใด เว้นแต่ เป็นภาคีของICSID –International center for Settlement of Disputeระงับข้อพิพาทการลงทุน ยอมรับคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการเป็นคำพิพากษาภายในรัฐสมาชิก
นางฟามทีเลียนฟ้องนายตรันวันเตียว ต่อศาลเมืองไซง่อน ฐานผิดสัญญาซื้อขาย ศาลเมืองไซง่อนพิพากษาให้นายตรันวันเนียวชดใช้ค่าเสียหายให้นางฟามทีเลียน ต่อมานายตรันวันเตียวได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร นางฟามทีเลียนจึงมอบอำนาจให้นายเวียนนำยอเป็นโจทก์ ฟ้องนายตรัยวันเตียวเป็นคดีต่อศาลแพ่ง คดีขึ้นสู่ศาลฎีกา โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ  คำพิพากษาเมืองไซง่อนที่โจทก์อ้างนั้น จะเป็นคำพิพากษาที่ศาลไทยควรรับบังคับให้เพียงใด
ศาลไทยได้วางหลักเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศไว้ด้วยกัน 2 ประการ กล่าวคือ1. ศาลที่พิพากษาคดีนั้นมีอำนาจพิจารณาคดีหรือไม่    ตามข้อเท็จจริงโจทก์และจำเลยเป็นคนในบังคับของเมืองไซง่อน ศาลเมืองไซง่อนจึงมีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าว2.คำพิพากษาต้องเป็นคำพิพากษาที่เสร็จเด็ดขาด คือ ไม่อาจรื้อร้องขึ้นฟ้องเป็นคดีกันได้อีก ในคดีนี้ ข้อเท็จจริงจำเลยแพ้คดีโดยจำเลยขาดนัด โจทก์ต้องเป็นฝ่ายนำสืบว่าการแพ้คดีโดยขาดนัดของจำเลยเป็นไปในลักษณะที่ เสร็จเด็ดขาดแล้ว จำเลยไม่อาจยกคดีให้ศาลไซง่อนพิจารณาใหม่ได้
แต่กรณีนี้โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ ศาลไทยจึงกล่าวว่า กรณีไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลไทยจะรับบังคับและดำเนินการให้ โจทก์จะอ้างคำพิพากษาเป็นมูลฟ้องร้องยังมิได้ข้อสังเกตจากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ศาลไทยใช้หลัก 2 ประการเป็นข้อพิจารณาการบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ อันได้แก่ หลักความถูกต้องของเขตอำนาจศาล และ หลัก ความเป็นที่สุดของคำพิพากษาคือคดีต้องเสร็จเด็ดขาด
ทั้งนี้ บุคคลที่ร้องขอให้นำผลของคำพิพากษาของศาลประเทศหนึ่งไปขอให้ศาลอีกประเทศ หนึ่งบังคับตามให้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและต้องการให้มีการบังคับตามคำพิพากษานั้น เช่น โจทก์ มิใช่เป็นบุคคลอื่น เช่น ศาลที่มีคำพิพากษาหรือองค์กรอื่นบังคับคดีแทนให้
หากจำเลยที่อยู่ในสวีเดนได้รับคำบังคับแล้ว ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ก็มีสิทธิแต่เพียงขอให้ศาลไทยแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับกับทรัพย์สินของจำเลยที่อยู่ใน ประเทศไทยเท่านั้นดังนั้น ในทางปฏิบัติเมื่อโจทก์ชนะคดีแล้ว ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลยแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเลย หากจำเลยไม่มีทรัพย์สินในประเทศไทย
โจทก์เป็นชายสวีดิชอยู่กินกับหญิงไทยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร1คน ต่อมาโจทก์ฟ้องศาลกรุงสต็อกโฮล์มขอเป็นผู้ดูแลบุตรผู้เยาว์ ศาลสวีเดนตัดสินให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจดูแลบุตรเพียงผู้เดียวจำเลยพาบุตรหนีมาไทย โจทก์จึงฟ้องคดีโดยใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลสวีเดน เป็นพยานหลักฐานว่าตนเป็นผู้ปกครองบุตรจำเลยต่อสู้2ประเด็น
ประเด็นแรกคำพิพากษาของศาลต่างป.ท.ไม่อาจนำมาบังคับในประเทศไทยได้ ศาลพิจารณาว่า ศาลไทยเพียงรับรองสิทธิที่โจทก์ได้รับแล้วตามคำพิพากษาศาลสวีเดน เมื่อคำพิพากษามีองค์ประกอบครบถ้วน และไม่ขัดต่อหลักการและเงื่อนไข ศาลไทยจึงรับรองคำพิพากษาดังกล่าวได้ประเด็นที่สองคำพิพากษาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ตาม พ.ร.บ.ขัดกันฯ ม.5ศาลพิจารณาว่าก.ม.2ป.ท.ต่างกันในสาระ แต่ไม่ถึงขั้นกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

0

Embed

Share

Upload

Make amazing presentation for free
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับกลยุทธ์ธุรกิจ